มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (มรพส.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ (สกมช.) เพื่อร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมความปลอดภัยไซเบอร์

✨การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กร เช่น การสูญหายของข้อมูล การเรียกค่าไถ่ โดยในปัจจุบันมีการโจมตีทางไซเบอร์ในหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้จักรูปแบบของการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อย พร้อมวิธีการป้องกัน เพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมตัวรับมือให้กับองค์กร

.

▶ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (มรพส.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ (สกมช.) เพื่อร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมความปลอดภัยไซเบอร์

.

▶ วันที่ 4 มิถุนายน 2567

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กับ สกมช. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ณ ห้องประชุม ท.410 อาคารทีปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

.

▶ ซึ่งพิธีลงนามครั้งนี้มีผู้บริหารระดับสูงทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม โดยมี ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ เป็นผู้แทนในการลงนาม นอกจากนี้ยังมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานราชการในจังหวัดพิษณุโลก หน้าส่วนงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

.

▶ วัตถุประสงค์ในบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ คือ

1.เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนดำเนินการฝึกอบรม

เพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

2.สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือในการผลิตกำลังคนเฉพาะด้าน พัฒนาทักษะ รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

3.ร่วมเป็นหน่วยงานขับเคลื่อน ประสานงานในการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับภูมิภาค (ภาคเหนือ) ให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยง จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบหรือเกิดแก่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ทางสารสนเทศและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้หน่วยงานต่าง ๆ

.

▶ หลังจากพิธีลงนาม ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “บทบาทของมหาวิทยาลัยและหลักสูตรที่สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในอนาคต 5 ปีข้างหน้า และ Social Engineering and Human Factor Risk in Cybersecurity” โดย.พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ (Smart City)” โดย คุณอรรถพล ห้วยหงษ์ทอง ผู้จัดการสาขาภาคเหนือตอนล่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล